วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

La Tour Eiffle



หอไอเฟล (ฝรั่งเศส: Tour Eiffel, ตูร์แอฟแฟล; อังกฤษ: Eiffel Tower) หอคอยโครงสร้างเหล็กตั้งอยู่บนชองป์ เดอ มารส์ บริเวณแม่น้ำแซน ในกรุงปารีส หอไอเฟลเป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศสที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ทั้งยังเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกอีกด้วย

หอไอเฟลเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยตั้งชื่อตามสถาปนิกผู้ออกแบบ "กุสตาฟ ไอเฟล" ในปี พ.ศ. 2549 นักท่องเที่ยวกว่า 6,719,200 คนได้เข้าเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ และกว่า 200,000,000 คนตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง ส่งผลให้หอไอเฟลเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีคนเข้าชมมากที่สุดต่อปีอีกด้วย หอไอเฟลมีความสูง 324 เมตร (1,063 ฟุต) (รวมเสาอากาศสูง 24 เมตร (79 ฟุต)) ซึ่งก็สูงเท่ากับตึก 81 ชั้น

เมื่อหอไอเฟลสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) หอไอเฟลกลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกแทนที่อนุสาวรีย์วอชิงตัน และได้ครองตำแหน่งนี้มาเรื่อยๆ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) ก็ได้เสียตำแหน่งให้แก่ตึกไครส์เลอร์ (319 เมตร หรือ 1,047 ฟุต) ที่เพิ่งสร้างเสร็จ ปัจจุบันฟอไอเฟลสูงเป็นอันดับที่ 5 ในประเทศฝรั่งเศสและสูงที่สุดในกรุงปารีส ซึ่งอันดับสองคือหอมงต์ปาร์นาสส์ (Tour Montparnasse - 210 เมตร หรือ 689 ฟุต) ซึ่งในไม่ช้าจะถูกแทนที่โดยหออาอิกซ์อา (Tour AXA - 225.11 เมตร หรือ 738.36 ฟุต)

ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%A5

Si

Si คือ ประโยคเงื่อนไขในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งจะประกอบด้วยประโยคย่อย 2 ประโยค ซึ่งสามารถแบ่งได้ตาม 3 ประเภท คือ


Si 1 ในเงื่อนไขที่เป็นไปได้ เป็นการสมมติในสิ่งที่อาจจะเป็นจริงหรือเกิดขึ้นได้ หรือต้องการสมมติในสิ่งที่เป็นอนาคต มี 3 รูปแบบคือ
1. Si présent + présent.
เงื่อนไขแบบนี้ มักใช้ในเหตุการณ์ที่เป็นจริงเสมอ
S'il fait beau, nous allons nous promener dans le parc.
Si c'est l'été, il fait chaud en Thaïlande.

2. Si présent + futur simple.
เงื่อนไขที่คาดว่าถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น จะทำอะไรบ้าง
S'il fait beau, j'irai au Luxembourg.
Elle sera amusé, si elle vient avec nous.

3. Si présent + impératif (ประโยคคำสั่ง)
การสมมติหรือคาดว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์อย่างที่คิด จงทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
Si vous avez assez d'argent, achetez ces livres.
Mange ces pains, si tu as faim.


Si 2 เป็นการสมมติสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในปัจจุบัน แต่อาจเป็นไปได้ในอนาคต หรือต้องการสมมติในสิ่งที่เป็นปัจจุบัน โครงสร้าง คือ
Si imparfait + conditionnel présent.
Si j'étais riche, j'achèterais une grande voiture.
Paul aurait de bonnes notes , s'il travaillait bien.


Si 3 เป็นการสมมติสิ่งที่เป็นไม่ได้ในอดีต
Si + le plus-que-parfait + conditionnel passé.
Si j'avais fait du sport, je me serais porté mieux.
Hier, je t'aurais pris à la gare, si tu m'avais dit.

Le Conditionnel Passe

Le Conditionnel Passé คือ temps ที่ใช้แสดงความเสียดาย (น่าจะทำในอดีตแต่ยังไม่ได้ทำ)

วิธีกระจายเป็น Le Conditionnel Passé คือ
1. ใช้ V.ช่วย V.avoir / V.être กระจายเป็น Le conditionnel présent
2. ใช้ P.P. ของ V.นั้นๆ ตามหลัง V.ช่วย
3. กฏการ accord เหมือนกับ Le passé composé
เช่น
V.prendre (หยิบ จับ ...) V.aller (ไป)
J'aurais pris. Nous aurions pris. Je serais allé(e). Nous serions allé(e)s.
Tu aurais pris. Vous auriez pris. Tu serais allé(e). Vous seriez allé(e)s.
Il / Elle aurait pris. Ils / Elles auraient pris. Il serait allé. Ils seraient allés.
Elle serait allée. Elles seraient allées.

Le Conditionnel Present

Le Conditionnel Présent คือ temps ที่มีลักษณะการใช้ ดังนี้
1. ใช้สำหรับการแสดงความปรารถนาอย่างสุภาพ (มักใช้ V.aimer / V.vouloir / V.pouvoir)
2. ใช้เสนอแนะ หรือ แนะนำ (มักใช้ V.devoir)
3. ใช้คาดคะเน สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น

วิธีการกระจายเป็น Le conditionnel présent คือ
1. นำ V.ใน temps futur simple มาจับแยกเป็น 2 ส่วน คือ หัว และ หาง (หัว - ฐานของ V.นั้นๆ หาง - ai , as , a ,ons , ez ,ont
2. .ใช้หัวของ Le futur somple เหมือนเดิม แต่เปลี่ยน หาง ให้เป็น L'imparfait (ais , ais , ait ,ions ,iez ,aient)
เช่น
V.aimer (รัก ชอบ) V.pouvoir (สามารถ)
J'aimerais. Nous aimerions. Je pourrais. Nous pourrions.
Tu aimerais. Vous aimeriez. Tu pourrais. Vous pourriez.
Il / Elle aimerait. Ils / Elles aimeraient. Il / Elle pourrait. Ils / Elles pourraient.

J'aimerais bien habiter à la campagne.
ฉันอยากจะไปอยู่ต่างจังหวัด

Didier adore la mer. Il voudrait avoir un bateau.
ดิดิเย่ชอบทะเลมากๆ เขาปรารถนาจะมีเรือสักลำ

Est-ce que tu pourrais me prêter ta bicyclette ?
เธอให้ฉันยืมจักรยานของเธอได้มั้ย (ฉันขอยืมจักรยานของเธอได้มั้ย)

Il neige beaucoup. Vous devriez prendre le train et pas la voiture.
หิมะตกหนักมากเลย พวกคุณน่าจะขึ้นรถไฟไปนะ อย่าไปรถยนต์เลย

Discours Indirect

Discours Indirects คือ การนำเรื่องของผู้อื่นมาพูดต่อ ซึ่งมีเงื่อนไขมากมายตามลักษณะของประโยคที่หยิบมาพูดนั้นๆ เช่น

Discours Directs - Simone dit "J'ai manqué le train de 8 h."
Discours Indirects - Simone dit qu'elle a manqué le train de 8 h."

ซึ่งการใช้เรื่องนี้จำเป็นอย่างยิ่งคือ คำเชื่อม ตัวประธาน และการกระจายกริยา

1. ประโยคบอกเล่า ใช้ que เชื่อม

Tu dois partir demain. (เธอต้องไปพรุ่งนี้)
Pierre dit à Paul qu'il doit partir demain. (ปิแยร์บอกกับปอลว่าเขาต้องไปพรุ่งนี้)

2. ประโยคคำสั่ง ใช้ de + Vinf.

Viens vite! (เธอมาเร็วๆ)
Je te dis de venir vite. (ฉันบอกเธอให้มาเร็วๆ)

Ne faites pas de bruit! (คุณอย่าส่งเสียงดังนะ)
Les filles leur demandent de ne pas faire de bruit. (เด็กผู้หญิงสั่งพวกเขาว่าอย่าส่งเสียงดังนะ)

Lève toi! (เธอจงลุกขึ้น)
Le professeur lui dit de se lever. (ครูบอกให้เขาลุกขึ้น)

3. ประโยคคำถามตอบ Oui / Non ใช้ si เชื่อม

Vas-tu sortir ? (เธอจะออกไปไหม)
Maman me demande si je vais sortir. (แม่ถามฉันว่าฉันจะออกไปข้างนอกไหม)

Est-ce que Nadine part ? (นาดีนไปหรือยัง)
Ses amis me demandent si Nadine part. (เพื่อนๆของหล่อนถามว่านาดีนไปรึยัง)

4. ประโยคคำถามที่มีคำแสดงคำถาม ใช้คำแสดงคำถามเชื่อม

Quand partez-vous ? (คุณจะไปเมื่อไหร่เนี้ย)
Dites-moi quand vous partez. (บอกฉันสิว่าคุณจะไปเมื่อไหร่)

Pouquoi pleures-tu ? (ร้องไห้ทำไมเธอ...)
Je ne sais pas pourquoi tu pleures. (ฉันไม่รู้ว่าทำไมเธอถึงร้องไห้)

5. ประโยคคำถาม Qui / Qui est-ce qui / Qui est-ce que ใช้ qui เชื่อม

Qui vient ? (ใครมา)
Je me demande qui vient. (ฉันสงสัยว่าใครมา)

Qui est-ce que ton père rencontre? (ใครที่พ่อของเธอพบอ่ะ)
Je ne sais pas qui ton père rencontre (ฉันไม่รู้ว่าพ่อเจอใคร)

6. ประโยคคำถาม Que / Qu'est-ce que ใช้ ce que เชื่อม

Que fais-tu ? (เธอทำอะไร...)
Dis-moi ce que tu fais. (บอกฉันสิว่าเธอทำอะไร) (จงบอกฉันสิ่งซึ่งเธอทำ)

Qu'est-ce que tu manges? (เธอทานอะไรอ่ะ)
Dis-moi ce que tu manges. (บอกมาสิๆ ว่าเธอทานอะไร)

7. ประโยคคำถาม Qu'est-ce qui ใช้ ce qui เชื่อม

Qu'est-ce qui sent bon? (อะไรกลิ่นดี / อะไรรสชาติดี)
Je sais ce qui sent bon. (ฉันรู้แหล่ะว่าอะไรอร่อย)

Qu'est-ce qui t'empêche de sortir? (อะไรทำให้เธอรีบออกไป)
Dis-moi ce qui t'empêche de sortir. (บอกหน่อยสิอะไรที่ทำให้เธอรีบออกไป)

Le Comparatif et Le Superlatif - ภาคผนวก -

ขั้นเปรียบเทียบที่ผิดจากแบบของ Adj. และ Adv. บางตัว

Positif Comparatif Superletif

bon meilleur le meilleur
bonne meilleure la meilleure

petit moindre le moindre
plus petit le plus petit
petite moindre la moindre
plus petite la plus petite

mauvais pire le pire
plus mauvais le plus maivais
mauvaise pire la pire
plus mauvaise la plus mauvaise

bien mieux le mieux

beaucoup plus le plus

peu moins le moins

Le Superlatif - การเปรียบเทียบขั้นต่ำสุด -

การเปรียบเทียบขั้นต่ำสุด ของ Adj.
โครงสร้าง คือ V.être + le / la moins + Adj. หรือ le / la Adj. + N.

Jacques est le moins petit. (ฌาคเป็นคนที่ตัวเล็ก น้อยที่สุด (ตัวสูงที่สุด))

Ces garçon sont les moins gentils. (เด็กผู้ชายเหล่านี้มีความสุภาพน้อยที่สุด)

André est le moins ordonné. (อองเดรมีความเป็นระเบียบน้อยที่สุด)


การเปรียบเทียบขั้นต่ำสุด ของ Adv.
โครงสร้าง คือ V. + le moins + Adv.

Elle travaille le moins lentement. (หล่อนทำงานช้าน้อยที่สุด)

Elle explique le moins clairement. (หล่อนอธิบายได้ละเอียดน้อยที่สุด (อธิบายไม่รู้เรื่อง))

Venez le moins souvent possible. (มาให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้)

Nous mangeons le moins. (พวกเราทานน้อยที่สุด)

การเปรียบเทียบขั้นต่ำสุด ของ Nom
โครงสร้าง คือ le moins de + Nom

C'est lui qui a le moins de capacité pour ce travail. (เขาเนี้ยแหล่ะ ที่มีความสามารถในการทำงานนี้น้อยที่สุด)

Elle a fait cela avec le moins d'attention. (หล่อนทำมันด้วยความระมัดระวังน้อยที่สุด)

Le Superlatif - การเปรียบเทียบขั้นสูงสุด -

ขั้นสูงสุดนั้นจะไม่มีการเปรียบเทียบ มีหลายวิธีการ วิธีการแรก คือ มี Adv. นำหน้า Adj. หรือ Adv. เช่น très , fort , bien เป็นต้น

Pierre est très sage. (ปิแยร์เป็นคนฉลาดมาก)

Paul est fort aimable. (ปอลเป็นคนน่ารักมากๆ)


การเปรียบเทียบขั้นสูงสุด ของ Adj.
โครงสร้าง คือ V.être + le / la plus + Adj.

Mon père est le plus âgé dans la famille. (พ่อของฉันมีอายุมากที่สุดในครอบครัว)

C'est la plus belle pienture. (นี่คือภาพที่สวยที่สุด)

หากต้องการขยาย Adj. ของคำนามนั้นๆ สามารถใช้ le / la plus + Adj. + Nom ได้เลย

Hier, j'ai vu le film le plus amusant. (เมื่อวานฉันไปดูหนังที่สนุกที่สุดมา)

Mon plus beau costume est perdu. (ชุดที่สวยที่สุดของฉันหายไป)

Adj. ที่ต้องเปลี่ยนรูปในขั้นสูงสุด คือ

bon --- le meilleur bonne --- la meilleure
petit --- le moindre petite --- la moindre
le petit la petite
mauvais --- le pire maivaise --- la pire
le mauvais la mauvaise

Mon équipe est la meilleure. (อุปกรณ์ของฉันดีที่สุด)

Son travail est le meilleur. (งานของเขาดีที่สุด)

Mon meilleur ami m'a quitté. (เพื่อนที่ดีที่สุดของฉันทิ้งฉันไป)


การเปรียบเทียบขั้นสูงสุด ของ Adv.
โครงสร้าง คือ V. + le plus + Adv.

Nous marchons le plus vite. (พวกเราเดินเร็วที่สุด)

Vous expliquez le plus clairement. (คุณอธิบายได้ชัดเจนที่สุด)

Venez le plus souvent possible. (มาให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะมาได้นะเธอ)

Adv. ที่ต้องเปลี่ยนรูปในขั้นสูงสุด คือ

bien --- le mieux
beaucoup --- le plus
peu --- le moins

Mon frère chante le mieux. (น้องชายของฉันร้องเพลงเพราะที่สุด)

Elle travaille le mieux. (หล่อนทำงานได้ดีที่สุด)

Cet élève travaille le plus. (นักเรียนคนนี้ทำงานเยอะที่สุดเลย)


การเปรียบเทียบขั้นสูงสุด ของ Nom
โครงสร้าง le plus de + Nom.

Ce livre , je le lis avec le plus de plaisir. (หนังสือเล่มนี้ ฉันอ่านด้วยความพอใจมากที่สุด)

C'est elle qui a le plus de capacité pour ce travail. (หล่อนเนี้ยแหล่ะที่มีความสามารถสำหรับงานนี้มากที่สุด)

Le Comparatif - การเปรียบเทียบขั้นต่ำกว่า -

การเปรียบเทียบ Adj. ขั้นต่ำกว่า
โครงสร้าง คือ V.être + moins + Adj. + que

Sa femme est moins âgée que lui. (ผู้หญิงคนนี้มีอายุน้อยกว่าเขา)

L'argent est moins cher que l'or. (เงินแพงน้อยกว่าทอง)

Pepsi est moins bon que l'eau. (เป๊ปซี่ดีน้อยกว่าน้ำเปล่า)

Les sacs sont moins lourds que les valises. (กระเป๋าหนักน้อยกว่าประเป๋าเดินทาง)


การเปรียบเทียบ Adv. ขั้นต่ำกว่า
โครงสร้าง คือ V. + moins + Adv. + que

Elle parle le français moins bien que l'anglais. (หล่อนพูดภาษาฝรั่งเศสได้ดีน้อยกว่าภาษาอังกฤษ)

Elle s'est habillée moins lentement que d'habitude. (หล่อนแต่งตัวช้ากว่าปกติ)

Sortez moins souvent. (ออกไปข้างนอกให้บ่อยน้อยลงหน่อย)


การเปรียบเทียบ V. ขั้นต่ำกว่า
โครงสร้าง คือ V. + moins + que

Elle travaille moins que nous. (หล่อนทำงานน้อยกว่าพวกเรา)

Ce lustre éclaire moins que celui de salon. (โคมระย้าอันนี้ให้แสงน้อยกว่าโคมระย้าในห้อง)


การเปรียบเทียบ Nom ขั้นต่ำกว่า
1. เปรียบเทียบ ประธาน โครงสร้าง คือ V. + moins de + Nom + que

Elle a moins d'argent que nous. (หล่อนมีเงินน้อยกว่าพวกเรา)

2. เปรียบเทียบ คำนาม ของประธานนั้นๆ โครงสร้าง คือ V. + moins de + Nom + que de + Nom

Les Thaïlandais mangent moins de pain que de riz. (คนไทยทานขนมปังน้อยกว่าข้าว)

Le Comparatif - การเปรียบเทียบขั้นสูงกว่า -

การเปรียบเทียบ Adj. ขั้นสูงกว่า
โครงสร้าง คือ V.être + plus + adj. + que

Mme. Aristide est plus âgée que Mme. Jérôme. (มาดาม อาริตีดมีอายุมากกว่ามาดาม เฌโรม)

Ces tartes sont plus chères que ces crêpes. (ขนามทาร์ตเหล่านี้แพงกว่าขนมแครป)

Cette chambre-ci est meilleure que celle-là. (ห้องนี้ดีกว่าห้องนั้น)

Ce jardin-ci est meilleur que celui-là. (สวนตรงนี้ดีกว่าสวนตรงนั้น)

*ในขั้นสูงกว่า Adj. ที่เปลี่ยนรูป คือ

bon --- meilleur / bonne --- meilleure - ดีกว่า
petit --- moindre / petite --- moindre - เล็กกว่า
plus petit plus petite
mauvais --- pire / mauvaise --- pire - แย่กว่า
plus maivais plus mauvaise


การเปรียบเทียบ Adv. ขั้นสูงกว่า
โครงสร้าง คือ V. + plus + Adv. + que

Il marche plus vite que sa soeur. (เขาเดินเร็วกว่าน้องสาวของเขา)

Elle parle plus couramment que sa soeur. (หล่อนพูดได้เชี่ยวชาญกว่าน้องสาวของหล่อน)

Nos chiens courent plus lentement que les leurs. (สุนัขของพวกเราวิ่งช้ากว่าของพวกเขา)

Ma soeur chante mieux que moi. (พี่สาวฉันร้องเพลงได้ดีกว่าฉัน)

Elle travaille mieux que lui. (หล่อนทำงานได้ดีกว่าเขา)

* ในขั้นสูงกว่า Adv. ที่เปลี่ยนรูป คือ

bien --- mieux
beucoup --- plus
peu --- moins


การเปรียบเทียบ V. ขั้นสูงกว่า
โครงสร้าง คือ V. + plus + que

Elle parle plus que moi. (หล่อนพูดมากกว่าฉัน)

Les pauvres travaillent plus que les riches. (คนจนทำงานหนักกว่าคนรวย)


การเปรียบเทียบ Nom ขั้นสูงกว่า

1. การเปรียบเทียบ ประธาน โครงสร้าง คือ V. + plus de + Nom + que

Elle a plus de frères que moi. (หล่อนมีน้องชายมากกว่าฉัน)

Nous avons fait plus de progrès que vous. (พวกเราทำความก้าวหน้าได้มากกว่าพวกคุณ)

2. การเปรียบเทียบ คำนาม โดยมีประธานแค่ตัวเดียว โครงสร้าง คือ V. + plus de + Nom + que de + Nom

Les Anglais boivent plus de thé que de café. (คนอังกฤษดื่มชามากกว่ากาแฟ)

Chez vous , il y a plus de chats que de chiens. (ที่บ้านของเธอน่ะ มีแมวมากกว่าสุนัข)

Le Comparatif - การเปรียบเทียบขั้นเท่ากัน -

Le Comparatif คือ การเปรียบเทียบ ซึ่งมีทั้งการเปรียบเทียบ Adj. Adv. V. และคำนาม โดยมีหลัก
ไวยากรณ์ ดังนี้

1. การเปรียบเทียบ Adj.
โครงสร้าง คือ V.être + aussi + Adj. + que

Ce jardin-ci est aussi beau que celui-là. (สวนตรงนี้สวยเท่ากับสวนตรงนั้น)

Cette chambre-ci est aussi belle que celle-là. (ห้องนี้สวยเท่ากับห้องนั้น)

Mme. Gilelle est aussi âgée que Mme. Duprè. (มาดาม ชิแอลแก่เท่ามาดาม ดูแปร)

Ces tartes sont aussi chères que ces crêpes. (ขนมทาร์ตพวกนี้แพงเท่ากับพวกขนมแครป)


2. การเปรียบเทียบ Adv.
โครงสร้าง คือ V. + aussi + Adv. + que

Ce jardin-ci coûte aussi cher que ce jardin-là. (สวนตรงนี้มีราคาแพงเท่ากับสวนตรงนั้น)

Vous parlez français aussi bien qu'elle. (พวกคุณพูดภาษาฝรั่งเศสได้ดีเท่ากับหล่อน)

Marc marche aussi rapidement que Jean. (มาร์คเดินเร็วเท่ากับฌ็อง)

Ce jardin se trouve aussi près de'ici que le marché. (สวนนี้อยู่ใกล้จากที่นี่เท่ากับตลาด)


3. การเปรียบเทียบ Verbe
โครงสร้าง คือ V. + autant que

Pierre mange autant que Philippe. (ปิแยร์ทานเท่ากับฟิลลิป)

Dans l'école, les étudiants travaillent autant qu'à l'université. (ในโรงเรียน นักเรียนเรียนหนักเท่ากับในมหาวิทยาลัย)

A Chiengmai , il pleut autant qu'à Chiengrai. (ที่เชียงใหม่ ฝนตกเท่ากับที่เชียงราย)

Paul s'est amusé autant que son ami. (ปอลสนุกเท่ากับเพื่อนของเขา)

4. การเปรียบเทียบ Nom
โครงสร้าง คือ
1. เปรียบเทียบ ประธาน V. + autant de + Nom que

J'ai acheté autant de pantalons qu'Aom. (ฉันซื้อกางเกงขายาวเท่ากับอ้อม)

En France , on prend autant de café qu'en Thaïlande. (ที่ประเทศฝรั่งเศส คนฝรั่งเศสดื่มกาแฟเท่ากับในประเทศไทย)

2. เปรียบเทียบ คำนาม ที่ประธานมี V. + autant de + Nom que de Nom

Chez moi , il y a autant de chats que de chiens. (ที่บ้านของฉันอ่ะนะ มีแมวเท่ากับหมาแหล่ะ)

J'ai autant de patience que d'imagination. (ฉันมีความอดทนเท่ากับมีความคิดสร้างสรรค์)

Les Pronoms - Indefinis

Les Pronoms Indéfinis คือ คำสรรพนามที่ใช้แทนบุคคล สิ่งของ ในลักษณะที่ไม่เฉพาะเจาะจง เป็นได้ทั้งเพศหญิง เพศชาย และ Neutre (เพศกลาง)

Personne / Aucun / Nul - ไม่มีใคร (เอกพจน์เพศชายบุรุษที่ 3)
Sujet
Personne ne finit son devoir. (ไม่มีใครทำการบ้านของตัวเองเสร็จ)

Aucun n'est en retard. (ไม่มีใครมาสาย)

Nul ne veut quitter son pays. (ไม่มีใครต้องการละทิ้งประเทศตัวเอง)

Complément
กรรมตรง
Elle ne voit personne en classe. (หล่อนไม่เห็นใครในห้องเรียนเลย)

กรรมรอง
Elle ne pense à personne. (หล่อนไม่คิดถึงใคร)


Rien - ไม่มีอะไร (เอกพจน์เพศชายบุรุษที่ 3)
Sujet
Rien n'est bon marché. (ไม่มีอะไรถูกเลย)

Complément
กรรมตรง
Je ne mange rien. (ฉันไม่ได้กินอะไรเลย)

กรรมรอง
Elle n'a peur de rien. (หล่อนไม่กลัวอะไรเลย)

Infinitif
Elle ne peut rien raconter. (หล่อนไม่สามารถเล่าอะไรได้เลย).

Adjectif
Il n'y a rien d'intéressant. (ไม่มีอะไรน่าสนใจเลย)


Aucun / Aucune - ไม่มี...เลย (Aucun / Aucune + de + N)
Sujet
Aucun de mes cours ne m'intéresse. (ไม่มีครอสในของฉันเลยที่น่าสนใจ)

Aucune de mes soeurs n'est paresseuse. (ในบรรดาน้องสาวของฉันไม่มีใครขี้เกียจสักคน)

Complément
กรรมตรง
Il ne voit aucun de ses amis. (เขาไม่เห็นเพื่อนของเขาสักคน)

กรรมรอง
Elle ne repond aucune de ces questions. (หล่อนไม่ตอบคำถามอะไรเลย)
Quelqu'un - คนใดคนหนึ่ง หรือ ใครบางคน (เอกพจน์บุรุษที่ 3)
Sujet
Quelqu'un frappe à la porte. (ใครบางคนเคาะประตู)

Complément
กรรมตรง
Je connais quelqu'un qui s'appelle Jean. (ฉันรู้จักใครบางคนที่ชื่อฌอง)

กรรมรอง
Elle peut demander à quelqu'un qui est à la porte. (หล่อนสามารถถามใครสักคนที่อยู่ที่หน้าประตูได้)


Quelque chose - สิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ บางสิ่งบางอย่าง (เอกพจน์บุรุษที่ 3)
Sujet
Quelque chose est arrivé. (บางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้น / เกิดบางสิ่งบางอย่างขึ้น)

Complément
กรรมตรง
Je vois quelque chose sur la table. (ฉันเห็นบางสิ่งบางอยู่อยู่บนโต๊ะ)

กรรมรอง
Elle pense à quelque chose de nouveau. (หล่อนคิดถึงบางสิ่งบางอย่างที่มันใหม่ๆ)


Plusieurs - หลายคน หลายอัน (พหูพจน์เสมอ)

Plusieurs m'ont déjà raconté cette histoire. (หลายคนเล่าเรื่องนี้ให้ฉันฟังแล้ว)

Voici des pêches, plusieurs sont très fraîches. (นี่ไงพวกปลาที่จับได้ หลายตัวสดๆทั้งนั้นเลยน้า---)


Certains / Certaines - บางคน (พหูพจน์เสมอ)

Certains sont incapables de garder un secret. (บางคนเก็บความลับไม่อยู่)

Voici les livres que Pierre nous a prêtés. Certains ne sont pas mal à lire. (นี่ไงหนังสือที่ปิแยร์ให้พวกเรายืม บางเล่มก็ไม่เลวนะที่ได้อ่าน)


Quelques-uns / Quelques-unes - บางคน

Il y a quelques-uns qui ignorent l'existence de ce problème. (มีบางคนที่ละเลยกับการมีอยู่ของปัญหานี้)

Quelques-unes de ces comédies de Boulevard sont drôle. (บทละครบางบทของบูเลอวาร์ดนั้นตล๊ก ตลก)


Tout - ทุกสิ่งทุกอย่าง (เอกพจน์เพศชาย)

Tout va bien. (ทุกสิ่งทุกอย่างโอเคดี)

Je sais tout. (ฉันรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง)

Il fait tout visiter avant de quitter Paris. (เขาแวะชมทุกสิ่งทุกอย่างก่อนที่จะไปจากปารีส)


Tous / Toutes - ทุกๆ / ทุกคน Tous เพศชายพหูพจน์ Toutes เพศหญิงพหูพจน์

Mes élèves ? Tous sont absents. (นักเรียนของฉันเหรอ ทุกคนขาดเรียนหมดเลย)

Je les connais tous ici. (ฉันรู้จักพวกเขาทุกคนที่นี่)

Mes filles sont là ? Oui, elles sont toutes ici. (เหล่าเด็กผู้หญิงอยู่ตรงนั้น พวกหล่อนทุกคนอยู่ที่นี่)

Voici de bonnes pommes ! Toutes viennent de la France. (เนี้ยคือแอปเปิ้ลคุณภาพดี ทุกลูกมาจากประเทศฝรั่งเศส)

Chacun / Chacune - แต่ละคน แต่ละสิ่ง / Chacun เพศชายเอกพจน์ Chacune เพศหญิงเอกพจน์

Chacun d'entre nous a fait son devoir. (พวกเราแต่ละคนทำการบ้านของตัวเอง)

Chacune de ces boîtes est cassée. (ขวดแต่ละขวดแตก)


L'un , l'autre / L'une , l'autre / Les uns , les autres / Les unes , les autres - คนหนึ่ง , อีกคนหนึ่ง / อันหนึ่ง , อีหอันหนึ่ง

Il y a deux lives sur la table. L'un est à moi. L'autre est à mon professeur. (มีหนังสือ 2 เล่มอยู่บนโต๊ะ เล่มนึงเป็นของฉัน อีกเล่มเป็นของคุณครู)

J'ai deux filles. L'une a onze ans. L'autre a neuf ans. (ฉันมีลูกสาว 2 คน คนนึงอายุ 11ขวบ อีกคนอายุ 9 ขวบ)

Les fruits étaient tous gâtés : les uns étaient pourris, les autres avaient été piqués par les oiseaux. (ผลไม้เสียหมดเลย ส่วนนึงเน่า อีกส่วนโดนนกจิก)


Un autre / Une autre / D'autres - อีกอันหนึ่ง ที่เหลือ (แบบไม่เจาะจง)

Tu as mangé une pomme, en veux-tu une autre ? (เธอทานแอปเปิ้ลไปแล้วเหรอ เอาอีกมั้ย)

Cette cravate ne me plait pas, prends plutôt une autre. (ฉันไม่ค่อบชอบเนคไทอันนี้เท่าไหร่เลย เธอใส่อันอื่นเธอ)

Ce roman est excellent, en connais-tu d'autres du même auteur ? (นวนิยายเรื่องนี้วิเศษไปเลย เธอรู้จักเรื่องอื่นที่นักเขียนคนนี้เขียนมั้ย)

Les Pronom - Demonstratifs - (celui, celle, ceux, celles)

Les Pronoms Démontratifs คือ คำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวถึงซ้ำ มีดังนี้

Ce - เป็นเพศกลาง เหมือนกับการพูดขึ้นมาลอยๆ ไม่ได้เจาะจง
Celui - เป็นเพศชาย เอกพจน์
Celle - เป็นเพศหญิง เอกพจน์
Ceux - เป็นเพศชาย พหูพจน์
Celles - เป็นเพศหญิง พหูพจน์

การใช้ Ce (แปลว่า ไอ้นั้น(พูดลอย))
1. ใช้กับ V.être ในรูปประโยค เช่น
C'est
Ce sont
Ce n'est pas
Ce ne sont pas

2. ใช้กับ Les Pronoms Relatifs (qui , que , dont , où) เป็น
Ce qui , Ce que , Ce dont , Ce + บุพบท + quoi
เพื่อเป็นการเน้น เช่น
Faisons ce qui est raisonable.
(พวกเราจงทำในสิ่งที่เหมาะสม)

Si l'on n'a pas ce que l'on aime, il faut aimer ce que l'on a.
(ถ้าเราไม่มีในสิ่งที่เรารัก ต้องรักในสิ่งที่เรามี)

Dis-moi ce dont tu as besoin.
(บอกสิ่งที่เธอต้องการกับฉันสิ)

Ce à quoi je pense toujours c'est l'avenir de mon fils.
(สิ่งที่ฉันนึกถึงเสมอ คืออนาคตของลูกชายของฉัน)

Ce avec quoi on écrit sur une feuille de papier c'est un stylo.
(สิ่งที่เราเขียนลงบนกระดาษ ก็คือปากกายังไงล่ะ)

*Ceci = สิ่งนี้
Cela = สิ่งนั้น
Ecoutez bien ceci.
(ฟังตรงนี้ดีๆนะ)

Quelle différence y a-t-il entre ceci et cela ?
(มีความแตกต่างตรงไหน ระหว่างอันนี้กับอันนั้น)


การใช้ Celui , Celle , Ceux , Celles คือ
1. ใช้แทนคำนามที่กล่าวซ้ำ แล้วคำนามตัวนั้นตามด้วย de แสดงความเป็นเจ้าของ เช่น

La porte de gauche est la porte de la salle à manger.
คำที่ถูกกล่าวถึงมาแล้วคือ la porte และตามหลังด้วย de เป็นคำนามเพศหญิง เอกพจน์ สามารถเขียนใหม่ได้ว่า
La porte de quache est celle de la salle à manger.
(ประตูทางด้านซ้ายคือประตูห้องรับประทานอาหาร)

Nos deux chiens ressemblent aux chiens de M.Tomah.
คำที่ถูกกล่าซ้ำคือ chiens และตามหลังด้วย de เป็นคำนามเพศชาย พหูพจน์ สามารถเขียนใหม่ได้ว่า
Nos deux chiens ressemblent à ceux de M.Tomah.
(สุนัขของพวกเราทั้ง 2 ตัว เหมือนกับของ เมอร์สิเยอร์ โตม่าห์)

Ces fleurs sont les fleurs de notre jardin.
คำที่ถูกกล่าวซ้ำคือ les fleurs และตามหลังด้วย de เป็นคำนามเพศหญิง พหูพจน์ สามารถเขียนใหม่ได้ว่า
Ces fleurs sont celles de notre jardin.
(ดอกไม้เหล่านี้คือดอกไม้จากสวนของพวกเรา)

2. ใช้แทนคำนามที่กล่าวซ้ำ และใช้กับ Les Pronoms Relatifs เพื่อเป็นการเน้น เช่น

Ce roman est celui que je lis avec le plus de plaisir.
(นี่คือนวนิยาย อันนี้แหล่ะที่ฉันอ่านด้วยความพอใจมากที่สุด)

Ces livres sont ceux dont tout le monde a besoin.
(เหล่านี้คือหนังสือที่ทุกคนอยากได้)

3. ใช้กับ Les Pronoms Relatifs แต่ไม่ได้แทนนามได้ เป็นเพียงพูดถึงสิ่งหนึ่งอย่างลอยๆ เช่น

Ceux qui travaille dur n'échoueront pas à l'examen.
(พวกที่ทำงานหนักน่ะ ไม่สอบตกหรอก)

Celle que nous aimons le plus c'est notre mère.
(สิ่งที่พวกเรารักมากที่สุดคือแม่ของพวกเรา)

Celui que le petit Jo a peur c'est con grand-père.
(สิ่งที่โจน้อยกลัวที่สุดคือปู่ของเขา)

4. Celui-ci , Celui-là , Celle-ci , Celle-là เทียบสองสิ่ง นี้ และ นั้น

J'aime mieux le chien que le caht. Celui-là est plus fidèle que celui-ci.
(ฉันชอบหมามากกว่าแมว เพราะมันซื่อสัตย์กว่า)
*ในกรณีที่มีคำนาม 2 ตัว ในประโยคหน้า ci จะแทนถึงคำนามที่อยู่ใกล้ประโยคที่ 2 มากกว่า là คือคำนามที่อยู่ห่างออกไป

Les Pronoms - Interrogatifs - (Qui , Que)

Les Pronoms Interrogatifs คือ สรรพนามที่ใช้ในประโยคคำถาม แบ่งงออกเป็น 2 ชนิด คือ
- สำหรับคน
- สำหรับสิ่งของ


Les Pronoms Interrogatifs สำหรับคน คือถามว่า "ใคร" แบ่งได้ดังนี้
Qui + V. ?/ Qui est-ce qui + V. ?
คือ ถามถึงใคร และใครในที่นี้ทำหน้าที่เป็นประธาน หรือผู้ทำกริยานั้น (ทำหน้าที่เหมือน il เสมอ) เช่น
Qui parle ? (ใครพูด)
Qui est-ce qui parle ? (ใครพูด)

Qui + interrogatif (V.+Sujet)? / Qui est-ce que + ประโยค ?
คือ ถามถึงใคร แต่ใครในที่นี้ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค เช่น
Qui regardez-vous ? (คุณมองใคร)
Qui est-ce que vous regardez ? (คุณมองใคร)

Preposition + qui + interrogatif / Preposition + qui est-ce que + ประโยค ?
คือ Qui ที่ตามหลังบุพบทในคำถามที่ V.นั้นมีโครงสร้างต้องตามด้วยบุพบท เช่น V.parler à , V.penser de เป็นต้น ตัวอย่างเช่น
A qui parles-tu ? (เธอพูดกับใคร)
A qui est-ce que tu parles ? (เธอพูดกับใคร)
De qui pensez-vous ? (คุณคิดถึงใคร)
De qui est-ce que vous pensez ? (คุณคิดถึงใคร)


Les Pronoms Interrogatifs Simples สำหรับสิ่งของ คือ ถามว่า "อะไร" แบ่งได้ดังนี้

Qu'est-ce qui + V. ?
คือ ถามถึงอะไร และอะไรในที่นี้ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค หรือเป็นผู้ทำกริยานั้น เช่น
Qu'est-ce qui tombe ? (อะไรหล่น)
Qu'est-ce qui est arrivé ? (เกิดอะไรขึ้น)

Que + interrogatif ? / Qu'est-ce que + ประโยค ?
คือ ถามถึงอะไร ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค เช่น
Que vois-tu ? (เธอเห็นอะไร)
Qu'est-ce que tu vois ? (เธอเห็นอะไร)

Preposition + quoi + V.? / Preposition + quoi est-ce que + ประโยค ?
คือ ถามถึงอะไร แต่ว่ากริยาที่กระทำนั้นมีบุพบทตามหลัง
A quoi penses-tu ? (เธอคิดถึงอะไรน่ะ)
A quoi est-ce que tu penses ? (เธอคิดถึงอะไร)
Avec quoi te brosses-tu ? (หืมม์ นี่เธอแปรงฟันกับอะไรเนี้ย)
Avec quoi est-ce que tu te brosses ? (แกแปรงฟันกับอะไรเนี้ย ห๊ะ)


Les Interrogatifs Variables คือ คำสรรพนามที่เป็นคำถามและเปลี่ยนแปลงรูป จะแปลว่า "อันไหน" ใช้สำหรับในการเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จากกลุ่มหนึ่งได้ มี 4 ตัว ดังนี้
lequel - เพศชาย เอกพจน์
laquelle - เพศหญิง เอกพจน์
lesquels - เพศชาย พหูพจน์
lesquelles - เพศหญิง พหูพจน์


วิธีใช้ คือ

1. เป็นประธานของประโยค (Pronom + V.?)
Entre ces dix hommes, lequel est le plus sexy ? (ระหว่างผู้ชายทั้ง 10 คนเนี้ย คนไหนเซ็กซี่ที่สุด)

Lesquelles parmi ces filles sont vos étudiantes ? (เด็กผู้หญิงคนไหนบ้างที่ในจำนวนเหล่านี้ที่เป็นนักเรียนของคุณ)

2. เป็นกรรมตรงของประโยค (Pronom + interrogatif ?/ Pronom est-ce que + ประโยค?)
Entre ces dix hommes, lequel voules-vous ? (ระหว่างผู้ชาย 10 คนนี้ คุณอยากได้คนไหนล่ะ)

Voici deux jolies robes, laquelle est-ce que vous choisissez ? (กระโปรง 2 ตัวนี้ คุณเลือกตัวไหน)

3. เป็นกรรมรองของประโยค (Preposition + Pronom + interrogatif ?/ Preposition + Pronom est-ce que + ประโยค ?)
คือ มีบุพบทนำหน้า (*อย่าลืมหากเป็นบุพบท à หรือ de ตรงเปลี่ยนรูป)
Entre ces dix hommes, auquel veux-tu parler ? (ระหว่างผู้ชาย 10 คนนี้ เธออยากคุยกับคนไหนล่ะ)

Dans cette clinique, il y a trois médecins. Pas lequel est-ce que tu es soigné ? (ในคลินิคนี้มีหมออยู่ 3 คน หมอคนไหนที่รักษาเธอ)

Les Pronoms - Possessifs - (le mien, le tien, le sien, le notre, le votre)

Les Pronoms Possessifs คือ สรรพนามที่แสดงความเป็นเจ้าของ ซึ่งใช้คู่กับ Les Adjectifs Possessifs

Les Adjectifs Possessifs คือ คำคุณศัพท์แสดงความเป็นเจ้า เวลาใช้ต้องประกอบกับคำนาม มีดังนี้
Je mon (นามเพศชาย เอกพจน์) ma (นามเพศหญิง เอกพจน์) mes (นามพหูพจน์)
Tu ton (นามเพศชาย เอกพจน์) ta (นามเพศหญิง เอกพจน์) tes (นามพหูพจน์)
Il / Elle son (นามเพศชาย เอกพจน์) sa (นามเพศหญิง เอกพจน์) ses (นามพหูพจน์)
Nous notre (นามเพศชาย หรือ เพศหญิง เอกพจน์) nos (นามพหูพจน์)
Vous votre (นามเพศชาย หรือ เพศหญิง เอกพจน์) vos (นามพหูพจน์)
Ils / Elles leur (นามเพศชาย หรือ เพศหญิง เอกพจน์) leurs (นามพหูพจน์)

วิธีการใช้ Adj.P. (les Adjectifs Possessifs)
1. หาเจ้าของ ของคำนามนั้น
2. มาดูเพศและพจน์ของคำนาม

J'aime mon père. (ฉันรักพ่อของฉัน) père เป็นเพศชายเอกพจน์ เจ้าของคือ Je จึงใช้ mon

Le professeur parle à ses élèves. (คูรพูดกับนักเรียนของเขา) élèves เป็นนามพหูพจน์ เจ้าของคือ Le professeur = Il จึงใช้ ses

Les Pronoms Possessifs คือ คำสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ เวลาใช้จะไม่มีคำนามอีก จะกล่าวถึง สิ่งนั้น ที่เคยกล่าวเป็น Adj.P. แล้ว มีดังนี้

Je le mien (n.m.s.) la mienne (n.f.s.) les miens (n.m.p.) les miennes (n.f.p.)
Tu le tien (n.m.s.) la tienne (n.f.s.) les tiens (n.m.p.) les tiennes (n.f.p.)
Il / Elle le sien (n.m.s.) la sienne (n.f.s.) les siens (n.m.p.) les siennes (n.f.p.)
Nous le nôtre (n.m.s.) la nôtre (n.f.s.) les nôtres (n.m/f.p.)
Vous le vôtre (n.m.s.) la vôtre (n.f.s.) les vôtres (n.m/f.p.)
Ils / Elles le leur (n.m.s.) la leur (n.f.s.) les leurs (n.m/f.p.)

*(n.m.s.) = คำนามเพศชาย เอกพจน์
(n.f.s.) = คำนามเพศหญิง เอกพจน์
(n.m.p.) = คำนามเพศชาย พหูพจน์
(n.f.p.) = คำนามเพศหญิง พหูพจน์
(n.m/f.p.) = คำนามเพศชาย หรือ เพศหญิง พหูพจน์

วิธีการใช้ Les Pronoms Possessifs
1. หาเจ้าของ ของคำนามที่เคยกล่าวถึงแล้ว
2. ดูเพศและพจน์ของคำนาม

Sa maison est grande; la mienne est petite. (บ้านของเขาใหญ่ บ้านของฉันเล็ก)
la mienne มาจาก ma maison แต่ไม่นิยมกล่าวซ้ำจึงใช้เป็น Pronom Possessif แทน

Pour les vieux sans famille leurs misères sont plus grandes que les vôtres. (ความทุกข์ของคนแก่ที่ไม่มีครอบครัวใหญ่กว่าความทุกข์ของพวกคุณ)
les vôtres มาจาก vos misères

Les pronoms - Les Pronoms Personnels - # 2 ( en , y , le )

En
En เป็น Pronom Personnel Invariable หรือ บุรุษสรรพนามที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
วิธีใช้
1. ใช้แทนคำนามที่ตามหลัง de ซึ่งจะตามหลัง V. หรือ Adj. เช่น
V.avoir besoin de - ต้องการ
V.se souvenir de - ใช้
V.être fier de - ภูมิใจ
เป็นต้น
Est-ce que tu te souviens des leçon de français ?
- Oui, je m'en souviens.
Elle a réussi à l'examen. Elle en est fière.
en ในที่นี้มาจาก Elle est fière de l'examen.
2. ใช้แทนนามที่ตามหลัง du , de la , de l' , des (Articles Partitifs) ซึ่งเป็นนามนับไม่ได้ บางเพียงส่วน ส่วนหนึ่ง
Est-ce que vous voulez encore de l'eau ?
คุณต้องการน้ำอีกมั้ย
- Non merci, je n'en veux plus.
ไม่ครับ ขอบคุณ ฉันไม่ต้องการมันแล้ว มาจาก je ne veux plus de l'eau.
Vous buvez du café noir ?
คุณดื่มกาแฟดำมั้ย
- Non, je n'en prends jamais.
ไม่ครับ ผมไม่เคยดื่มมันเลย มาจาก je ne prends jamais du café noir.
3. แทนคำนามที่ตามหลังด้วยตัวเลขบอกจำนวน หรือ คำคุณศัพท์ที่บอกปริมาณ
Combien d'enfants avez-vous ?
คุณมีลูกกี่คน
- J'en ai deux.
ฉันมีลูกสองคน มาจาก j'ai deux enfants แต่ว่าเราได้กล่าวถึงคำนามนั้นมาแล้ว จึงแทนด้วย en ได้
Il y a beaucoup de Français en Thaïlande ?
มีคนฝรั่งเศสในประเทศไทยเยอะรึเปล่า
- Non , il y en a peu.
ไม่ล่ะ มีนิดเดียว มาจาก il y a peu de Français. de Français ตามหลังคำคุณศัพท์บอกจำนวน จึงเปลี่ยนเป็น en

Y
y เป็น Pronom Personnel Invariable เช่นเดียวกัน
วิธีใช้
1. ใช้แทนคำนามที่เป็น สิ่งของ สถานที่ ที่ตามหลังด้วยบุพบท à
Cette lettre ? Je vais y répondre.
จดหมายนี่เหรอ เดี๋ยวฉันจะตอบมัน มาจาก Je vais répondre à la lettre.
Tu iras à la plage en vacances ?
ตอนวันหยุดเธอจะไปทะเลมั้ย
- Oui , j'y irai.
จ๊ะ ฉันจะไป มาจาก j'irai à la plage.

2. แทนคำนามที่ตามหลัง คำบุพบทบอกสถานที่เหล่านี้
en / dans - ใน
sur - บน sous - ใต้
chez - ที่บ้าน
à - ที่
devant - ข้างหน้า derrièr - ข้างหลัง
Les devoirs sont - ils sur la table ?
การบ้านอ่ะ อยู่บนโต๊ะรึเปล่า
- Oui , ils y sont depuis une semaine.
ใช่ มันอยู่บนนั้นมาตั้งสัปดาห์นึงแล้ว มาจาก ils sont sur la table depuis une semaine.
Est-ce que vous irez chez moi ce soir ?
นี่พวกแกจะไปบ้านฉันมั้ยเย็นนี้
- Mais oui , on y ira.
แน่นอน พวกเราไปแน่ มาจาก on ira chez toi.

Le (Pronom Neutre)
วิธีใช้
1. ใช้แทน Adj. หรือ คำนามบอกอาชีพ ที่ตามหลัง V.être ที่กล่าวมาแล้ว
Vos enfants sont malades ?
ลูกๆของเธอไม่สบายเหรอ
- Oui , ils le sont.
อื้ม พวกเขาป่วย มาจาก ils sont malades แต่ Adj. นั้นถูกกล่าวมาแล้วจึงแทนด้วย le
Est-ce que ton père est médecin ?
พ่อเธอเป็นหมอเหรอ
- Non , il ne l'est pas. Il est professeur.
ไม่ใช่อ่ะ ไม่ได้เป็นหมอ เป็นครูต่างหาก มาจาก il n'est pas médecin.
2. แทนประโยคทั้งประโยค ที่กล่าวถึงมาแล้ว
Mes parents me demandent de travailler plus dur mais je ne le peux pas.
พ่อแม่ฉันบอกสั่งว่า ให้ฉันทำงานหนักกว่านี้ แต่ ฉันทำมัน(เรียนหนัก)ไม่ได้
le แทนประโยคข้างหน้า
Qui a pris mon stylo ? Le savez-vous ?
ใครเอาปากกาฉันไปเนี้ย เธอรู้มั้ย(ว่าใครเอาปากกาฉันไป)

วิธีการเรียง Pronom Personnel
ในบางกรณีบาง Pronom Personnel หลายตัวในประโยคเดียวกัน วิธีการที่จะเรียงให้ถูกต้อง คือ

Sujet me le lui y en
te la leur V.
se les
nous
vous

* Pronom ตัวนั้นเป็นของ V. ใดต้องอยู่หน้า V. นั้นๆ

Les pronoms - Les Pronoms Personnels - # 1

Les Pronoms Personnels คือ บุรุษสรรพนาม ซึ่งแยกเป็น 3 บุรุษ คือ 1.ผู้พูด 2.ผู้พูดด้วย 3.ผู้กล่าวถึง และบุรุษสรรพนามนี้ยังสามารถแยกได้ตามหน้าที่ คือ
1. Sujets เป็นประธาน
2. Objets directs เป็นกรรมตรง
3. Objets indirects เป็นกรรมรอง
4. Objets après une préposition เป็นกรรมตามหลังบุพบท


รูปของ Pronoms Personnels มีดังนี้
Sujets Objets direct (C.O.D.) Objets indi rect (C.O.I) Pronoms Toniques
Je me me moi
Tu te te toi
Il le lui lui
Elle la lui elle
Nous nous nous nous
Vous vous vous vous
Ils les leur eux
Elles les leur elles

Sujet คือ ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค


Objets direct คือ กรรมตรงของประโยค กรรมตรงคือ คำนามที่ตามหลังประโยคโดยไม่มีบุพบทมาคั่น คำนามนั้นจัดว่าเป็นกรรมตรง เช่น

Hier, j'ai vu ta soeur.
ta soeur เป็นเพศหญิง เอกพจน์ จึงแทนด้วย la แล้วนำมาไว้หน้า V.
- Hier, je l'ai vue (ลดรูปเพราะติดสระ และ accord ตามเพศประธานตามกฏของการaccord le passé composé.)

Nous regardons cet arbre.
cet arbre เป็นเพศชาย เอกพจน์ จึงแทนด้วย le แล้วนำมาไว้ หน้า V.
- Nous le regardons.


Objets indirects คือ กรรมรองที่จะใช้กับคนเท่านั้น V.ที่มีคำบุพบทขั้นหน้าคำนาม(คน) จัดเป็นกรรมรอง เช่น à + คน

Je parle à Paul
à Paul เป็น กรรมรอง เพศชาย เอกพจน์ จึงเปลี่ยนเป็น lui แล้วนำไปวางหน้า V.
- Je lui parle.

Est-ce que tu donne ces deux timbres à moi ?
ในประโยคนี้มีทั้งกรรมตรง และ กรรมรองในประโยค ในตอนนี้ดูทื่กรรมรองก่อน ก็คือ à moi คือ ให้กับฉัน จึงเปลี่ยนเป็น me และสามารถเขียนใหม่ได้ว่า
- Est-ce que tu me donne ces deux timbres ?
และกรรมตรงในประโยคนี้ก็คือ ces deux timbres เป็นเพศชาย พหูพจน์ก็คือ les เราสามารถตอบประโยคนี้ได้ว่า
- Oui, je me les donne.

*มีกิริยา 2 ตัว ที่ตามหลัง à แต่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็น กรรมรองได้ คือ
V.être à - เป็นเจ้าของ
V.penser à - คิดถึง


Pronoms Toniques กรรมที่ตามหลังคำบุพบท ทำหน้าที่ตรงตามชื่อของมัน คือเป็นกรรมที่ตามหลังคำบุพบท เช่น

Est-ce que tu es chez toi ?
toi อยู่หลัง บุพบท chez (ที่บ้าน) ถามว่า เธออยู่ที่บ้านของเธอมั้ย ไม่เขียนว่า Est-ce que tu es chez tu ? หลัง บุพบทต้องเปลี่ยน tu เป็น toi
- Oui, je suis chez moi.

Est-ce que Simine sort avec Pierre ?
- Oui, elle sort avec lui.

*กรรมหลังคำบุพบทนี้ ไม่เพียงแต่อยู่หลังคำบุพบทเท่านั้น แต่หากว่าอยู่ด้านหน้าประโยค จะเป็นการเน้นประธานตัวนั้น
Moi, je prends mes valises. Lui, il prend les sienne.

Le Participe Present

วิธีผันเป็น Le Participe Présent คือ
1. นำ V. มากระจายเป็น Présent ของ Nous
2. ตัดหาง -ons ออก แล้วเติม -ant

V. parler (Nous parlons) --- parlant
V. sortir (Nous sortons) --- sortant
V. pouvoir (Nous pouvons) --- pouvant
V. finir (Nous finissons) --- finissant
V. voir (Nous voyons) --- voyant

*V. บางตัวที่ไม่ผันไปตามกฏ แต่เปลี่ยนรูปไปเลย คือ
V.être --- étant
V.avoir --- ayant
V.savoir --- sachant


วิธีใช้ Le Participe Présent

1. การแสดงการกระทำ 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน แล้วมี en นำหน้า Le Particpe Présent เรียกว่า Le Gérondif แปลว่า ในขณะที่ เช่น

Je fume et lis un journal en même temps. (ฉันสูบบุหรี่และอ่านหนังสือพิมพ์ในเวลาเดียวกัน)
Je fume en lisant un jornal. (ฉันสูบบุหรี่ในขณะที่อ่านหนังสือพิมพ์)

Il chante et il descend l'escalier. (เขาร้องเพลง และลงบันได)
Il chante en descendant l'escalier. (เขาร้องเพลงในขณะที่ลงบันได)

*วิธีการเลือก V. ไหนเป็น Le Gérondif คือ เลือกดูจาก V. ที่มีระยะเวลาในการทำนานกว่า หรือ ใช้การแปลเพื่อช่วยเลือก V.

2. ใช้ขึ้นต้นประโยค และแปลว่า "ในขณะที่กำลัง..." สามารถ มี en หรือ ไม่มีก็ได้

En allant à l'école , j'ai rencontré ta soeur. (ในขณะที่กำลังไปโรงเรียน ฉันเจอน้องสาวเธอด้วยแหล่ะ)

Parlant sans cesse , elles nous gêne beaucoup. (ในขณะที่กำลังพูดไม่หยุด พวกหล่อนทำให้พวกเรารำคาญเกินจะทน...)

3. เป็น Adj.

Ce sont des films intéressants. (พวกนี้คือหนังที่น่าสนใจ)

C'est vraiment une histoire amusante. (นี่คือเรื่องที่สนุกจริงๆ)

Le français est une langue vivante. (ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีชีวิตชีวา)

*การใช้ Adj.
V. ที่เป็น Adj. นั้น มีทั้งที่เป็น Le Parcipe Présent และ Le Partcipe Passé โดยแยกความแตกต่างในการใช้ ดังนี้

Le Participe Présent ใช้เป็น Adj. ในกรณีที่ คำนามเป็นผู้กระทำ Adj. นั้น

Le Participe Passé ใช้เป็น Adj. ในกรณีที่ คำนามเป็นผู้ถูกกระทำ Adj. นั้น

Les étudiants travaillant réussiront ses examens. (นักเรียนที่ทำงานจะประสบความสำเร็จในการสอบ)
travaillant มาจาก travailler แปลว่า ทำงาน เหล่านักเรียนนั้นทำงานด้วยตัวเอง จึงใช้เป็น Le Participe Présent.

Il était debut devant la porte fermée. (เขายืนอยู่หน้าประตูที่ปิด)
fermée มาจาก fermer แปลว่า ปิด accord กับ la porte เติม e ประตูปานนี้ไม่สามารถปิดตัวเองได้ ต้องถูกปิดดังนั้นต้องใช้เป็น Le Participe Passé

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

Du fromage populaire

สำหรับบทความนี้ก็จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเนยแข็ง ซึ่งเป็นหนึ่งในอาหารหลักของคนฝรั่งเศสครับ ตามจริงแล้วชนิดของเนยฝรั่งเศสนั้นมีอยู่มากมาย ตามเดิมแล้วมีอยู่ประมาณ 350-400 ชนิด แต่ปจจุบันมีกว่า 1,000 ชนิด แต่ถ้าจะเอามาให้ดูทั้งหมดคงไม่ไหวผมจึงขอเอามาให้ดู 5 ชนิดที่เป็นที่นิยมนะครับ
1.Camembert
Photobucket
Camembert คือเนยที่มีความนุ่ม และถูกทำให้สุก โดยทำมาจากนมวัวทั้งที่ผ่านการพาสเจอไรซ์และไม่ผ่านการพาสเจอไรซ์ เนยแข็งนี้มีต้นตำรับอยู่ที่แคว้น Normandie ซึ่งเนยแข็ง Camembert ที่เป็นของแท้นั้นต้องมีตรา VCN รับรอง สำหรับรสชาตินั้นเนยชนิดนี้มีรสชาติเค็มเล็กน้อยc]t,ud]bjos;ko

2.Brie de Meaux
Photobucket
Brie de Meaux นั้นมีต้นตำรับอยู่ที่แคว้น Ile-de-France ทำมาจากนมวัวทั้งที่ผ่านการพาสเจอไรซ์และไม่ผ่านการพาสเจอไรซ์ เนยชนิดนี้นั้นจะถูกห่อด้วยกระดาษไขและถูกใส่ไว้ในกล่องไม้เพื่อรักษารสชาติและความสด เนยชนิดนี้มีกลิ่นคล้ายเห็ดและมีรสชาติของกระเทียมและถั่ว

3.Roquefort
Photobucket
Roquefort นั้นเป็น Blue Cheese ประเภทหนึ่งซึ่งทำมาจากนมแกะที่ไม่ได้ผ่านการพาสเจอไรซ์ โดยมีผิวชั้นนอกที่อ่อนนุ่มและกินได้ เนยแข็งชนิดนี้มีลักษณะคล้าย French Bleu des Causses ของแคว้น Bleu d’Auvergne เนื่องจากมีรสชาติที่เฉียบคมและผิวนอกที่เค็มเหมือนกัน
4.Boursin
Photobucket
Boursin เป็นเนยทำจากนมวัวประเภท Brie ชนิด triple-créme มีต้นตำรับที่แคว้น Ile-de-France เนยแข็งชนิดนี้ถูกขายทั้งในรูปแบบพาสเจอไรซ์และไม่พาสเจอไรซ์ เนยชนดนี้มีไขมันถึง 75% ซึ่งคล้ายกับเนยแข็ง Brie ชนิด triple-créme อื่นๆ Boursin มีรสชาติที่นุ่มละมุล และมีรสของถั่ว รวมทั้งมีสัมผัสที่มันเข้มข้นและให้สัมผัสเหมือนครีม

5.Reblochon
Photobucket
Reblochon ถูกผลิตที่แคว้น Savoie และ Haute-Savoie เนยชนิดนี้จะไม่ผ่านการพาสเจอไรซ์ และ มีเนื้อที่นุ่มเหมือนเนย Brie มีรสหวานของเนื้อ

*บทความนี้มีข้อมูลและแปลมาจาก http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_French_cheeses เจ้าของบล็อกยังแปลไม่ค่อยเก่งถ้ามีตรงไหนผิดพลาดก็ต้องขออภัยด้วยครับ

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553

Les Pronom Relatifs

สวัสดีทุกคนครับ ก่อนอื่นก็ขอขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมชมบล็อกแห่งนี้นซึ่งเป็นการเขียนบล็อกครั้งแรกของผมในชีวิตตั้งแต่เล่นเน็ตเป็นและเข้าไปอ่านบล็อกของคนอื่นมาก็มากแล้ว ซึ่งบล็อกนี้ก็จะเป็นเกร็ดความรู้เกี่ยวกับภาษาฝรั่งเศสและวัฒนธรรมฝรั่งเศสครับ สำหรับบทความแรกนี้ก็จะเป็นความรู้ grammaire ภาษาฝรั่งเศสเรื่อง Les Pronom Relatifs นะครับ

Les Pronom Relatifs คือคำที่ใช้สำหรับเชื่อมประโยคสองประโยคเข้าด้วยกันให้เป็นประโยคเดียว โดยคำนามที่ซ้ำกัน คำนามในประโยคที่สองจะใช้ pronom relatif แทน

Les Pronom Relatifs มี 2 ชนิดคือ
1.Invariable Pronom Relatif ชนิดเปลี่ยนรูปไม่ได้
-qui ใช้แทนคำนามที่กล่าวซ้ำทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค คำนามที่ซ้ำอยู่ในประโยคที่ 2 แปลว่า ผู้ที่,สิ่งที่,คนที่
ตัวอย่าง Le pull est en vitrine. Le pull est très joli.
Le pull qui en vitrine est très joli
-que ใช้แทนคำนามซ้ำในประโยคมี่ 2 ทำหน้าที่เป็นกรรมตรงของประโยค แปลว่า ที่,ซี่ง
ตัวอย่าง Je lis un livre. Ce livre est intéressent.
Je lis un livre qui intéressent.
-quoi ใช้เป็น กรรมตามหลังบุพบท แต่จะใช้กับเฉพาะสิ่งของเท่านั้น
ตัวอย่าง Souvent, ce à quoi je pense, je voudrai partir en vacances à étranger.
-dont ใช้เชื่อมในกรณีที่คำซ้ำแสดงความเป็นเจ้าของ หรือตามหลัง preposition de
ตัวอย่าง C'est un abre dont les feuilles tombent.
-où ใช้เชื่อมในกรณีที่คำซ้ำบอกสถานที่ วัน เดือน ปี เวลา และ ฤดูกาล
ตัวอย่าง Mon père va au Central. Il veut acheter un pantalon au Central.
Mon pére va au Central où il veut acheter un pantalon.

ข้อสังเกตุ การใช้ dont คำกริยาต้องตามด้วยบุพบท de เช่น parler de/ se souvenir de หรือแสดงความเป็นเจ้าของ จะเปลี่ยน adjectif possessifs มาเป็น article défini แทน
où ให้สังเกตคำกริยาที่ตามหลัง où ว่าต้องการส่วนที่แสดง เวลา หรือ สถานที่

2.Variable Pronom Relatif ชนิดที่เปลี่ยนแปลงรูปได้
ทำหน้าที่แทนคำนาม จะมีเพศ พจน์ ตาม l'an
técédent(l'antécédent คือคำที่ซึ่ง pronom relatif แทนที่ มันจะวางอยู่หน้า pronom relatif) และจะมีหน้าที่เป็นกรรมตามหลังบุพบทในประโยคย่อย
Lequel --> แทน น.ชาย เอกพจน์
Laquel --> แทน น.หญิง พหูพจน์
Lesquels --> แทน น.ชายพหูพจน์
Lesquelles --> แทน น.หญิง พหูพจน์

ระวัง de และ à
de + lequel = duquel
de + laquelle = de laquelle
de + lesquels = desquels
de + lesquelles = desquelles

à + lequel = auquel
à + laqulle = à laquelle
à + lesquels = auxquels
à + lesquelles = auxquelles

*ถ้า lequel/laqueele/lesquelles แทนตนอนุโลมให้ใช้ qui ได้
-Voici le coiffeur chez lequel /chez qui je vais souvent
-Voici l'outil avec lequel il travaille. ถูก
Voici l'outil avec qui il travaille.ผิด
ในประโยคที่สองไม่สามารถใช้ avec qui ไดแ้เพราะ l'outil แปลว่าเครื่องมือ ไม่ใช่คน ซึ่งต่างจากตัวอย่างแรก เพราะ le coiffeur (ช่างทพำผม) เป็นคน จึงใช้ qui แทน lequel ได้

ที่ีมา หนังสือ พิชิต Entrance ใน 60 วัน และ หนังสือ สรุป ภาษาฝรั่งเศส