วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

La Tour Eiffle



หอไอเฟล (ฝรั่งเศส: Tour Eiffel, ตูร์แอฟแฟล; อังกฤษ: Eiffel Tower) หอคอยโครงสร้างเหล็กตั้งอยู่บนชองป์ เดอ มารส์ บริเวณแม่น้ำแซน ในกรุงปารีส หอไอเฟลเป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศสที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ทั้งยังเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกอีกด้วย

หอไอเฟลเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยตั้งชื่อตามสถาปนิกผู้ออกแบบ "กุสตาฟ ไอเฟล" ในปี พ.ศ. 2549 นักท่องเที่ยวกว่า 6,719,200 คนได้เข้าเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ และกว่า 200,000,000 คนตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง ส่งผลให้หอไอเฟลเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีคนเข้าชมมากที่สุดต่อปีอีกด้วย หอไอเฟลมีความสูง 324 เมตร (1,063 ฟุต) (รวมเสาอากาศสูง 24 เมตร (79 ฟุต)) ซึ่งก็สูงเท่ากับตึก 81 ชั้น

เมื่อหอไอเฟลสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) หอไอเฟลกลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกแทนที่อนุสาวรีย์วอชิงตัน และได้ครองตำแหน่งนี้มาเรื่อยๆ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) ก็ได้เสียตำแหน่งให้แก่ตึกไครส์เลอร์ (319 เมตร หรือ 1,047 ฟุต) ที่เพิ่งสร้างเสร็จ ปัจจุบันฟอไอเฟลสูงเป็นอันดับที่ 5 ในประเทศฝรั่งเศสและสูงที่สุดในกรุงปารีส ซึ่งอันดับสองคือหอมงต์ปาร์นาสส์ (Tour Montparnasse - 210 เมตร หรือ 689 ฟุต) ซึ่งในไม่ช้าจะถูกแทนที่โดยหออาอิกซ์อา (Tour AXA - 225.11 เมตร หรือ 738.36 ฟุต)

ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%A5

Si

Si คือ ประโยคเงื่อนไขในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งจะประกอบด้วยประโยคย่อย 2 ประโยค ซึ่งสามารถแบ่งได้ตาม 3 ประเภท คือ


Si 1 ในเงื่อนไขที่เป็นไปได้ เป็นการสมมติในสิ่งที่อาจจะเป็นจริงหรือเกิดขึ้นได้ หรือต้องการสมมติในสิ่งที่เป็นอนาคต มี 3 รูปแบบคือ
1. Si présent + présent.
เงื่อนไขแบบนี้ มักใช้ในเหตุการณ์ที่เป็นจริงเสมอ
S'il fait beau, nous allons nous promener dans le parc.
Si c'est l'été, il fait chaud en Thaïlande.

2. Si présent + futur simple.
เงื่อนไขที่คาดว่าถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น จะทำอะไรบ้าง
S'il fait beau, j'irai au Luxembourg.
Elle sera amusé, si elle vient avec nous.

3. Si présent + impératif (ประโยคคำสั่ง)
การสมมติหรือคาดว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์อย่างที่คิด จงทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
Si vous avez assez d'argent, achetez ces livres.
Mange ces pains, si tu as faim.


Si 2 เป็นการสมมติสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในปัจจุบัน แต่อาจเป็นไปได้ในอนาคต หรือต้องการสมมติในสิ่งที่เป็นปัจจุบัน โครงสร้าง คือ
Si imparfait + conditionnel présent.
Si j'étais riche, j'achèterais une grande voiture.
Paul aurait de bonnes notes , s'il travaillait bien.


Si 3 เป็นการสมมติสิ่งที่เป็นไม่ได้ในอดีต
Si + le plus-que-parfait + conditionnel passé.
Si j'avais fait du sport, je me serais porté mieux.
Hier, je t'aurais pris à la gare, si tu m'avais dit.

Le Conditionnel Passe

Le Conditionnel Passé คือ temps ที่ใช้แสดงความเสียดาย (น่าจะทำในอดีตแต่ยังไม่ได้ทำ)

วิธีกระจายเป็น Le Conditionnel Passé คือ
1. ใช้ V.ช่วย V.avoir / V.être กระจายเป็น Le conditionnel présent
2. ใช้ P.P. ของ V.นั้นๆ ตามหลัง V.ช่วย
3. กฏการ accord เหมือนกับ Le passé composé
เช่น
V.prendre (หยิบ จับ ...) V.aller (ไป)
J'aurais pris. Nous aurions pris. Je serais allé(e). Nous serions allé(e)s.
Tu aurais pris. Vous auriez pris. Tu serais allé(e). Vous seriez allé(e)s.
Il / Elle aurait pris. Ils / Elles auraient pris. Il serait allé. Ils seraient allés.
Elle serait allée. Elles seraient allées.

Le Conditionnel Present

Le Conditionnel Présent คือ temps ที่มีลักษณะการใช้ ดังนี้
1. ใช้สำหรับการแสดงความปรารถนาอย่างสุภาพ (มักใช้ V.aimer / V.vouloir / V.pouvoir)
2. ใช้เสนอแนะ หรือ แนะนำ (มักใช้ V.devoir)
3. ใช้คาดคะเน สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น

วิธีการกระจายเป็น Le conditionnel présent คือ
1. นำ V.ใน temps futur simple มาจับแยกเป็น 2 ส่วน คือ หัว และ หาง (หัว - ฐานของ V.นั้นๆ หาง - ai , as , a ,ons , ez ,ont
2. .ใช้หัวของ Le futur somple เหมือนเดิม แต่เปลี่ยน หาง ให้เป็น L'imparfait (ais , ais , ait ,ions ,iez ,aient)
เช่น
V.aimer (รัก ชอบ) V.pouvoir (สามารถ)
J'aimerais. Nous aimerions. Je pourrais. Nous pourrions.
Tu aimerais. Vous aimeriez. Tu pourrais. Vous pourriez.
Il / Elle aimerait. Ils / Elles aimeraient. Il / Elle pourrait. Ils / Elles pourraient.

J'aimerais bien habiter à la campagne.
ฉันอยากจะไปอยู่ต่างจังหวัด

Didier adore la mer. Il voudrait avoir un bateau.
ดิดิเย่ชอบทะเลมากๆ เขาปรารถนาจะมีเรือสักลำ

Est-ce que tu pourrais me prêter ta bicyclette ?
เธอให้ฉันยืมจักรยานของเธอได้มั้ย (ฉันขอยืมจักรยานของเธอได้มั้ย)

Il neige beaucoup. Vous devriez prendre le train et pas la voiture.
หิมะตกหนักมากเลย พวกคุณน่าจะขึ้นรถไฟไปนะ อย่าไปรถยนต์เลย

Discours Indirect

Discours Indirects คือ การนำเรื่องของผู้อื่นมาพูดต่อ ซึ่งมีเงื่อนไขมากมายตามลักษณะของประโยคที่หยิบมาพูดนั้นๆ เช่น

Discours Directs - Simone dit "J'ai manqué le train de 8 h."
Discours Indirects - Simone dit qu'elle a manqué le train de 8 h."

ซึ่งการใช้เรื่องนี้จำเป็นอย่างยิ่งคือ คำเชื่อม ตัวประธาน และการกระจายกริยา

1. ประโยคบอกเล่า ใช้ que เชื่อม

Tu dois partir demain. (เธอต้องไปพรุ่งนี้)
Pierre dit à Paul qu'il doit partir demain. (ปิแยร์บอกกับปอลว่าเขาต้องไปพรุ่งนี้)

2. ประโยคคำสั่ง ใช้ de + Vinf.

Viens vite! (เธอมาเร็วๆ)
Je te dis de venir vite. (ฉันบอกเธอให้มาเร็วๆ)

Ne faites pas de bruit! (คุณอย่าส่งเสียงดังนะ)
Les filles leur demandent de ne pas faire de bruit. (เด็กผู้หญิงสั่งพวกเขาว่าอย่าส่งเสียงดังนะ)

Lève toi! (เธอจงลุกขึ้น)
Le professeur lui dit de se lever. (ครูบอกให้เขาลุกขึ้น)

3. ประโยคคำถามตอบ Oui / Non ใช้ si เชื่อม

Vas-tu sortir ? (เธอจะออกไปไหม)
Maman me demande si je vais sortir. (แม่ถามฉันว่าฉันจะออกไปข้างนอกไหม)

Est-ce que Nadine part ? (นาดีนไปหรือยัง)
Ses amis me demandent si Nadine part. (เพื่อนๆของหล่อนถามว่านาดีนไปรึยัง)

4. ประโยคคำถามที่มีคำแสดงคำถาม ใช้คำแสดงคำถามเชื่อม

Quand partez-vous ? (คุณจะไปเมื่อไหร่เนี้ย)
Dites-moi quand vous partez. (บอกฉันสิว่าคุณจะไปเมื่อไหร่)

Pouquoi pleures-tu ? (ร้องไห้ทำไมเธอ...)
Je ne sais pas pourquoi tu pleures. (ฉันไม่รู้ว่าทำไมเธอถึงร้องไห้)

5. ประโยคคำถาม Qui / Qui est-ce qui / Qui est-ce que ใช้ qui เชื่อม

Qui vient ? (ใครมา)
Je me demande qui vient. (ฉันสงสัยว่าใครมา)

Qui est-ce que ton père rencontre? (ใครที่พ่อของเธอพบอ่ะ)
Je ne sais pas qui ton père rencontre (ฉันไม่รู้ว่าพ่อเจอใคร)

6. ประโยคคำถาม Que / Qu'est-ce que ใช้ ce que เชื่อม

Que fais-tu ? (เธอทำอะไร...)
Dis-moi ce que tu fais. (บอกฉันสิว่าเธอทำอะไร) (จงบอกฉันสิ่งซึ่งเธอทำ)

Qu'est-ce que tu manges? (เธอทานอะไรอ่ะ)
Dis-moi ce que tu manges. (บอกมาสิๆ ว่าเธอทานอะไร)

7. ประโยคคำถาม Qu'est-ce qui ใช้ ce qui เชื่อม

Qu'est-ce qui sent bon? (อะไรกลิ่นดี / อะไรรสชาติดี)
Je sais ce qui sent bon. (ฉันรู้แหล่ะว่าอะไรอร่อย)

Qu'est-ce qui t'empêche de sortir? (อะไรทำให้เธอรีบออกไป)
Dis-moi ce qui t'empêche de sortir. (บอกหน่อยสิอะไรที่ทำให้เธอรีบออกไป)

Le Comparatif et Le Superlatif - ภาคผนวก -

ขั้นเปรียบเทียบที่ผิดจากแบบของ Adj. และ Adv. บางตัว

Positif Comparatif Superletif

bon meilleur le meilleur
bonne meilleure la meilleure

petit moindre le moindre
plus petit le plus petit
petite moindre la moindre
plus petite la plus petite

mauvais pire le pire
plus mauvais le plus maivais
mauvaise pire la pire
plus mauvaise la plus mauvaise

bien mieux le mieux

beaucoup plus le plus

peu moins le moins

Le Superlatif - การเปรียบเทียบขั้นต่ำสุด -

การเปรียบเทียบขั้นต่ำสุด ของ Adj.
โครงสร้าง คือ V.être + le / la moins + Adj. หรือ le / la Adj. + N.

Jacques est le moins petit. (ฌาคเป็นคนที่ตัวเล็ก น้อยที่สุด (ตัวสูงที่สุด))

Ces garçon sont les moins gentils. (เด็กผู้ชายเหล่านี้มีความสุภาพน้อยที่สุด)

André est le moins ordonné. (อองเดรมีความเป็นระเบียบน้อยที่สุด)


การเปรียบเทียบขั้นต่ำสุด ของ Adv.
โครงสร้าง คือ V. + le moins + Adv.

Elle travaille le moins lentement. (หล่อนทำงานช้าน้อยที่สุด)

Elle explique le moins clairement. (หล่อนอธิบายได้ละเอียดน้อยที่สุด (อธิบายไม่รู้เรื่อง))

Venez le moins souvent possible. (มาให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้)

Nous mangeons le moins. (พวกเราทานน้อยที่สุด)

การเปรียบเทียบขั้นต่ำสุด ของ Nom
โครงสร้าง คือ le moins de + Nom

C'est lui qui a le moins de capacité pour ce travail. (เขาเนี้ยแหล่ะ ที่มีความสามารถในการทำงานนี้น้อยที่สุด)

Elle a fait cela avec le moins d'attention. (หล่อนทำมันด้วยความระมัดระวังน้อยที่สุด)